วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2551

สรปการเข้าอบรมเรือง "การเขียนโปรแกรมประเภท GUI ด้วย LAB View

การเขียนโปรแกรมประเภท GUI ด้วย Lab view
Lab view คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นเพื่อนำมาใช้ในด้านการวัดและเครื่องมือวัดสำหรับงานทางวิศวกรรม Lab View นั้นย่อมาจาก Laboratory virtual Instrument Engineering Workbench หมายความว่า เครื่องมือเสมือนจริงในห้องปฏิบัติการทางวิศกรรม ซึ่งจุดประสงค์ของการทำงานของโปรแกรมนี้คือการจัดการในด้านการวัดและเครื่องมือวัด อย่างมีประสิทธิภาพ โปรแกรม Lab view มีข้อแตกต่างจากโปรแกรมอื่นคือ เป็นโปรแกรมประเภท GUI (Graphical User Interface) คือเราไม่จำเป็นต้องเขียน Code หรือคำสั่งใดๆ และสัญลักษณะภาษาที่ใช้เขียนในโปรแกรมนี้เราจะเรียกว่าเป็น ภาษารูปภาพ หรือ Graphicl Language แม้ว่าในเบื้องต้นเราอาจจะไม่คุ้นเคยหรือสับสนกับการจัดเรียงหรือเขียนโปรแกรม แต่เมื่อได้คุ้นเคยการใช้โปรแกรมนี้แล้วจะพบว่า Lab View มีความสะดวกและสามารถลดเวลาในการเขียนโปรแกรมไปได้มาก โดยเฉพาะในงานเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์อื่นๆ เพื่อใช้ในการวัดและการควบคุม
สำหรับควมรู้ที่ได้เข้ารับการฝึกอบรมนั้น ท่านวิทยากร ได้มีความรู้เดี่ยวกับโปรแกรมนี้เป็นอย่างดี และทางวิทยากร ได้สอนวิธีการใช้โปรแกรมให้กับผู้ที่เข้าร่วมสัมนา แต่ก็มีข้อเสียคือเราไม่ได้ทำควบคุมไปเนื่องห้องสัมนาไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ปฏิบัติงาน แต่ก็ทำให้เราทราบวิธีการเขียนโปรแกรม Lab View พอเข้าใจถึงวิธีการทำงาน ข้อดี ของโปรแกรม ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับงานของเราได้


โดย นางสาวอรวรรณ อุ่นนันกาศ รหัส 48234750

วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551

สรุปเนื้อหาในการเข้าร่วมสัมนากลุ่มย่อย กลุ่มที่ 1 เรื่อง Network Security for smes

จากการได้เข้าร่วมสัมนา เรื่อง Network Security for smes โดยวิทยากร
ซึ่งท่านวิทยากรที่มาบรรยายได้ให้ความรู้เรื่องภัยที่เกิดขึ้นกับระบบ Network ในปัจจุบันซึ่งท่านได้ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง และวิธีการทำงานในการแก้ใข ยกตัวอย่างเช่นการโจรกรรมข้อมูล การทำลายข้อมูลของหน่วยงานราชการ ทำให้เกิดความเสียหายโดยข้อมูลที่สำคัญถูกทำลายไปหมด และภัยคุกคามจากพวกที่ไม่ประสงค์ดีอย่างพวก Hacker ที่ชอบไปก่อความไม่สงบในระบบ network และท่านได้บอกถึงวิธีการไล่จับบุคคลที่ไม่ประสงค์ดี และได้ดำเนินการตามกฏหมาย แต่ปัจจุบันคนเหล่านี้ก็ยังมีอยู่ทั่วไป โดยอยากที่จะแก้ไขปัญหา แต่ทางหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลก็ได้เร่งทำงานอย่างเต็มที่เพื่อที่จะจับกลุ่มคนพวกนี้ให้ได้ และทางท่านวิทยากรก็ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับระบบ Network ในหลายๆเรื่อง ทั้งที่เคยเรียนมาแล้ว และจากการเข้าร่วมสัมนาในครั้งนี้ทำให้เราทราบถึงปัญหาที่เกิดขี้นในระบบ Network มากขึ้นจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งทำให้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมาก และทำให้เราทราบถึงแนวทางป้องกันที่จะมิให้เกิดปัญหาเหล่านี้
และในการจัดสัมนาในครั้งทำให้เราได้ทราบถึงแนวทางในการจัดสัมนาในครั้งต่อไป

วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2550

แจ้งการยกเลิกการจัดสัมนากลุ่มย่อย

เนื่องจากได้ทราบข่าวจากเพื่อนทางราชภัฎมาว่า อาจาร์ยได้มีเสนอความคิดเห็นมาว่า จะยกเลิการจัดสัมนากลุ่มยอ่ยในรายวิชาของอ.กัลยา
แต่จะมีการจัดสอบในรายวิชานี้ แต่ว่ายังไม่มีกำหนดการที่แน่ชัดออกมา
จึงอยากจะแจกให้เพื่อนๆที่ยังไม่ทราบได้รับทราบทั่วกันค่ะ

Aorwan Aunnunkad

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

โซนี่เตรียมถอนตัวโครงการพัฒนาชิป Cell




โดย ผู้จัดการออนไลน์
8 พฤศจิกายน 2550 19:54 น.



ชิป Cell
ตัดบัวต้องไม่ให้เหลือใย หลังจากขายสายการผลิตชิปให้โตชิบาแล้ว ประชาสัมพันธ์โซนี่ประกาศเตรียมถอนตัวจากโครงการร่วมมือวิจัยชิปคอมพิวเตอร์แห่งอนาคต "Cell" สมองกลเครื่องเกมเพลย์สเตชั่น 3 ด้วย โทมิโอ ทาคิซาวา ผู้แทนบริษัทโซนี่เป็นผู้ให้ข้อมูลดังกล่าว ผลที่เกิดจากการถอนตัวครั้งนี้ จะทำให้ผู้ร่วมโครงการพัฒนาชิปเซลล์เหลือเพียง 2 ขั้วใหญ่อย่างไอบีเอ็มและโตชิบา ซึ่งได้ร่วมมือกันพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตชิปเซลล์มาหลายปี โดยขณะนี้โซนี่กำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับไอบีเอ็มและโตชิบาเพื่อทบทวนโครงการ "การขายสายการผลิต ทำให้ไม่มีเหตุผลที่โซนี่จะร่วมโครงการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตชิป" ทากิซาวากล่าว เมื่อเดือนที่ผ่านมา โซนี่ประกาศข้อตกลงขายสายการผลิตชิปทุกชนิด รวมไปถึงไมโครโปรเซสเซอร์ของ PS3 นามว่าเซลล์ให้กับโตชิบา ตามรายงานระบุว่าการซื้อขายครั้งนี้มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยโซนี่เปิดเผยว่า โซนี่จะเน้นการผลิตเซนเซอร์ที่ใช้ในกล้องดิจิตอล แทนการอุ้มธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ซึ่งได้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่า การตัดสินใจขายสายการผลิตชิปครั้งนี้ถูกมองว่าเป็นแผนในการให้ความสำคัญกับธุรกิจสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค (CE) อย่างเต็มที่อีกครั้ง หลังจากที่บริษัทได้ลงทุนมหาศาลกับการพัฒนาชิปเซลล์ แต่ผลกำไรตอบกลับมาไม่เคยคุ้มทุน ก่อนหน้านี้ ไอบีเอ็ม โซนี่และโตชิบาเคยระบุว่าจะต้องขยายเวลาพัฒนาชิป Cell ออกไปอีก 5 ปีบนงบประมาณ 400 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากต้องการศึกษาวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการผลิตชิปให้ได้มากที่สุด เป้าหมายที่วางไว้คือต้องการผลิตด้วยเทคโนโลยี 32 นาโนเมตร หรือเล็กกว่า เทียบกับเทคโนโลยีปัจจุบัน 90 นาโนเมตร และเล็กที่สุดคือ 65 นาโนเมตร แม้ชิป Cell จะถูกมองว่าเป็นชิปยุคหน้าที่เหมาะสำหรับใช้งานกับอุปกรณ์ได้ตั้งแต่โทรศัพท์มือถือไปจนถึงเซิร์ฟเวอร์ แต่นักวิเคราะห์จำนวนไม่น้อยกลับมองว่าการทำตลาดของชิป Cell ค่อนข้างลำบาก เนื่องจากราคาจำหน่ายที่สูงตามระดับความสามารถทำให้ชิปนี้ถูกจำกัดวงอยู่ในตลาดสินค้าเฉพาะกลุ่มเท่านั้น แม้แต่การประกาศเป็นพันธมิตรระหว่าง 3 ค่ายก็ยังถูกมองว่าเป็นการแก้ปัญหาราคาชิปสูงด้วยการลดต้นทุนการพัฒนา Company Related Links :
Sony

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ไมโครซอฟท์เปิดแผนรุก “การตลาดดิจิตอล”


ไมโครซอฟท์เปิดแผนรุก “การตลาดดิจิตอล”
โดย บิสิเนสไทย [29-10-2007]
กูเกิลครองพื้นที่โฆษณาออนไลน์ในวันนี้ แต่ไมโครซอฟท์กำลังเดิมพันเพื่อเป็นเจ้าของในวันหน้า สตีฟ บอลเมอร์กล่าวปราศรัยในงานประชุมสุดยอดนักการตลาดของสมาคมโฆษณาแห่งชาติสหรัฐฯ (ANA 2007)
ในการประชุม ณ ห้องบอลรูมของ Arizona Biltmore Resort & Spa ในเมืองฟีนิกซ์ซึ่งจัดโดยสมาคมผู้โฆษณาแห่งชาติสหรัฐอเมริกา นายสตีฟ บอลเมอร์ ซีอีโอของไมโครซอฟท์กล่าวต่อหน้าผู้ฟัง 1,200 คนถึงวิสัยทัศน์ระยะยาวสำหรับอนาคตของไมโครซอฟท์ในช่วงเวลาที่ภารกิจสำคัญของซีเอ็มโอส่วนใหญ่เหลืออยู่เพียง 2 ปี
"ภายใน 10 ปี การบริโภคสื่อใดๆก็ตามที่เรามีอยู่ในทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์ หรือทีวีจะเกิดขึ้นผ่านทาง IP และเทคโนโลยีทางอินเตอร์เน็ต และทุกอย่างจะกลายเป็นดิจิตอล" นายบอลเมอร์ผู้เล่าว่าเคยใช้ชีวิตอยู่กับพร็อคเตอร์แอนด์แกมเบิลในฐานะผู้จัดการแบรนด์มา 2 ปีก่อนที่จะใช้เวลาตลอด 27 ปีที่ผ่านมาเพื่อรับใช้ไมโครซอฟท์กล่าว
"ทุกสิ่งที่คุณอ่าน คุณจะได้อ่านบนหน้าจอ" เขาทำนาย อย่างไรก็ตาม เขาอาจรู้สึกได้ถึงความสงสัยไม่ไว้วางใจจากกลุ่มผู้ฟัง ซึ่งบางทีอาจเป็นทีมงานจากสมาคมผู้จัดทำนิตยสารแห่งอเมริกา "จะเกิดอะไรขึ้นถ้าภายใน 10 ปีนี้เราสามารถสร้างหน้าจอที่บางเบาและพกพาสะดวกเช่นนี้ได้" เขากล่าวพร้อมกับดึงกระดาษยับย่นจากกระเป๋าออกมาให้ผู้ชมดู "นั่นคือสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับฮาร์ดแวร์ในอีก 10 ข้างหน้า"
การเดิมพันของไมโครซอฟท์ในธุรกิจโฆษณาในอนาคตเป็นเรื่องที่ได้ยินมาก่อนหน้านี้แล้ว โดยเฉพาะที่งานประชุม Strategic Account Summit (SAS) ของไมโครซอฟท์เมื่อ 5 เดือนก่อน อย่างไรก็ตาม งาน ANA ในครั้งนี้มีจำนวนผู้ฟังมากกว่ามากและแต่ละคนไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในด้านดิจิตอลเหมือนกับกลุ่มผู้ชมที่บริษัทกล่าวให้ฟังในงาน SAS
เขาใช้แนวทางที่โดดเด่นที่สุดเพื่อนำเสนอถึงการลงสนามโฆษณาครั้งใหญ่ของไมโครซอฟท์ นั่นคือ ไมโครซอฟท์ในฐานะแพลทฟอร์ม เขากล่าวถึงผลลัพธ์ของการเจาะกลุ่มและยิงโฆษณา และมองว่าสำหรับโลกดิจิตอลแล้ว สิ่งเหล่านั้นสามารถปรับปรุงได้โดยซอฟท์แวร์ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ไมโครซอฟท์ยังมีความรู้ไม่มากนัก
ซื้อผู้ชมด้วยสภาพแวดล้อม
แพลทฟอร์มหนึ่งๆจะประกอบด้วยกลุ่มบุคคล 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือ ผู้ตีพิมพ์คอนเท็นต์, เจ้าของเว็บไซต์, ผู้สร้างคอนเท็นต์ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งคือ ผู้โฆษณา สำหรับวิสัยทัศน์ในอนาคตของไมโครซอฟท์ นักการตลาดจะสามารถนำซอฟแวร์ออนไลน์ที่น่าสนใจมาใช้เพื่อเข้าซื้อผู้ชมโดยยึดหลักสภาพแวดล้อม, ประชากรศาสตร์, และพฤติกรรม รวมถึงนำมาใช้เพื่อตัดสินวิธีการวางโฆษณาที่ดีที่สุดและหาโมเดลราคาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และจากนั้นจึงเข้าทำการปรับปรุงแคมเปญโดยยึดข้อมูลผลตอบรับแบบเรียลไทม์ เขาบอกเป็นนัยๆว่าในอนาคตจะมีแพลทฟอร์มเช่นนี้ 2-3 แพลทฟอร์มบนเว็บ และท้ายที่สุดเม็ดเงิน 5.5 แสนล้านล้านดอลลาร์สหรัฐจากผู้โฆษณาจะไหลเข้าสู่แพลทฟอร์มเหล่านี้

"ผมมั่นใจเป็นอย่างมากว่าโฆษณาจะเป็นโมเดลธุรกิจสำหรับทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์" นายบอลเมอร์กล่าว "โอกาสในการสร้างบทสนทนาที่น่าสนใจกับผู้บริโภคจะมีมากขึ้น"
นอกจากนี้ นายบอลเมอร์ได้กล่าวถึงบทบาทของเอเยนซีในสภาพแวดล้อมแบบสื่อดิจิตอลอย่างแท้จริง (ตอนนี้ ไมโครซอฟท์มีเอเยนซี Avenue A/Razorfish อยู่ในการครอบครอง) "เอเยนซีจะเป็นสถานที่ให้คำปรึกษาในเรื่องส่วนประสมการตลาดและเป็นแหล่งกำเนิดแนวคิดสร้างสรรค์" เขากล่าว "บทบาทของพวกเขาอาจมีมากขึ้นเพราะแนวทางและตัวเลือกต่างๆจะยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน"
ปรับปรุงไซต์ขององค์กร
สำหรับคำถามที่ว่าผู้โฆษณาควรให้ความสำคัญกับสิ่งใดในวันพรุ่งนี้หรือในอนาคตอีกยาวไกล นายบอลเมอร์กล่าวว่าพวกเขามีความสนใจที่จะลงทุนในเว็บไซต์ของบริษัทตัวเองน้อยเกินไป
"เราจะมีเว็บไซต์องค์กรที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในโลก ซึ่งไม่ใช่เพื่อนักการตลาดเท่านั้นแต่จะเป็นสถานที่สำหรับการบริการลูกค้า" เขากล่าวถึง Microsoft.com
"การสื่อสารระหว่างกันในทุกๆครั้งจะกลายเป็นโอกาสทางการตลาด ผู้โฆษณาควรให้ความสำคัญกับเว็บไซต์องค์กรหรือไซต์เพื่อการสร้างแบรนด์ของตนโดยมองว่าเป็นพื้นที่สำหรับการบอกเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจตั้งแต่ตอนนี้ได้แล้ว"

Q&A: Microsoft
“อีก 10 ปีโฆษณาทั้งหมดจะเป็นดิจิตอล”
นายสตีฟ บาลเมอร์ ซีอีโอไมโครซอฟท์อภิปรายประเด็น "เทคโนโลยี: การเปลี่ยนแปลงทิศทางการตลาด" ก่อนเข้าร่วมงานประชุมประจำปีของสมาคมนักโฆษณาแห่งชาติที่ผ่านมา และในขณะที่ไมโครซอฟท์กำลังออกเดินทางเพื่อเปลี่ยนตัวเองให้เป็นยักษ์ใหญ่แห่งวงการโฆษณา (บริษัทคาดหวังว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า โฆษณาจะสร้างรายรับมากถึง 25% ของธุรกิจของบริษัท) เขาได้กล่าวถึงเส้นแบ่งที่คลุมเครือระหว่างซอฟต์แวร์และสื่อและโฆษณา รวมถึงวิธีการที่จะทำให้ไมโครซอฟท์กลายเป็นนักการตลาดรายใหญ่ด้วยเม็ดเงินลงทุนด้านโฆษณาจำนวน 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ นายบาลเมอร์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้กับนางแอบบี้ คลาสเซ็น บรรณาธิการข่าวดิจิตอลของ
AdAge AdAge: ไม่ว่าจะมองด้านใดก็ตาม ไมโครซอฟท์กำลังยืนอยู่บนจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่จากบริษัทซอฟต์แวร์ไปสู่บริษัทบริการด้านการตลาดและโฆษณา คุณพร้อมที่จะเป็นบริษัทโฆษณาหรือยัง? แล้วคุณจัดการกับความเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรครั้งนี้อย่างไร?
บาลเมอร์: ไมโครซอฟท์เป็นบริษัทซอฟต์แวร์ที่พัฒนาไปพร้อมกับตลาดและน้อมรับโอกาสและโมเดลธุรกิจรูป
บบใหม่ๆ ในขณะที่เส้นแบ่งระหว่างเทคโนโลยี, สื่อและโฆษณาเริ่มไม่ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ซอฟต์แวร์จะเข้ามาผลักดันวิธีการสร้าง, ซื้อ และส่งโฆษณา นั่นส่งผลให้เราอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมในการเป็นหุ้นส่วนสำคัญสำหรับผู้โฆษณาและผู้ตีพิมพ์คอนเท็นต์ และเรากำลังสร้างการลงทุนและพัฒนาศักยภาพของเราเพื่อนำเสนอคุณค่าที่แท้จริงให้กับพวกเขา
เป้าหมายของเราคือการเป็นฐานกำลังสำคัญในด้านโฆษณา ทุกวันนี้ เราเป็นผู้ขายโฆษณาทางอินเทอร์เน็ตอันดับ 3 เราต้องการที่จะจัดสรรผู้มีความสามารถ, ทรัพยากร, เม็ดเงินลงทุน และนวัตกรรมเพื่อทำให้เรากลายเป็นผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ที่สำคัญกว่าใครในสายตาของผู้โฆษณา, ผู้ตีพิมพ์คอนเท็นต์ และเอเยนซี
เรามีชิ้นส่วนทุกชิ้นที่เราต้องการเพื่อสร้างความสำเร็จ เรามีสินทรัพย์ที่เป็นผู้ชมมากมาย รวมถึงเครือข่ายทรัพย์สินด้านสื่อดิจิตอล เช่น MSN, Xbox Live, Windows Live และ Office Live ที่มีอัตราผู้เยี่ยมชมไม่ซ้ำหน้ามากกว่า 500 ล้านคนต่อวัน และจากการที่เราได้เข้าซื้อ aQuantive เมื่อไม่นานมานี้ เราจึงมีเครื่องมือและบริการเพื่อส่งโซลูชั่นด้านโฆษณาการตลาดที่คิดค้นขึ้นมาใหม่ให้กับลูกค้าได้
Ad Age: หลายคนมองว่าคุณจ่ายให้กับ aQuantive มากเกินควร ทำไมคุณถึงไม่คิดเช่นนั้น?
บาลเมอร์: ไม่ต้องสงสัยว่าการเข้าซื้อ aQuantive เป็นการเดิมพันครั้งใหญ่ในด้านโฆษณาออนไลน์ แต่นี่ก็เป็น
โอกาสอันใหญ่ยิ่งเช่นกัน ด้วยการคาดการณ์ว่าภายในปี 2010 ตลาดจะมีมูลค่าถึง 8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ตลาดโฆษณาออนไลน์พัฒนาอย่างรวดเร็วไปสู่แพลทฟอร์มที่เชื่อมโยงกับระบบสื่อสารข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งรวมถึงทีวี และเกม และตลาดยังพัฒนาผ่านทางซอฟต์แวร์ที่โลกนี้จะสามารถควบคุมและทำกำไรให้กับทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้มากขึ้น
เรากำลังสร้างแพลทฟอร์มซอฟแวร์ที่สร้างโอกาสให้ผู้ตีพิมพ์และเอเยนซีมากขึ้น และ aQuantive มีบทบาทสำคัญตรงส่วนนี้ aQuantive ให้ทั้งประสบการณ์อันลึกซึ้งและผู้เชี่ยวชาญที่มากความสามารถในแพลทฟอร์มโฆษณาและพื้นที่การตลาดดิจิตอล พร้อมด้วยสินทรัพย์เทคโนโลยีที่แตกต่างแต่น่าสนใจ ผมรู้สึกพอใจในทีมและเทคโนโลยีที่เราได้รวบรวมขึ้นมาเป็นอย่างมาก รวมถึงแผนการที่เราวางไว้เพื่อก้าวเดินต่อไป
Ad Age: คุณสามารถเล็งเห็นถึงบทบาทของไมโครซอฟท์ในการลงเล่นในพื้นที่โฆษณาออนไลน์ได้อย่างชัดเจน เช่น ในฐานะแพลทฟอร์มเพื่อประสิทธิภาพในการเจาะกลุ่มที่ดีกว่า เป็นต้น แล้วคุณมองเห็นช่องทางโฆษณาอื่นๆ ซึ่งอยู่นอกโลกออนไลน์และไม่มีประสิทธิภาพหรือประสบกับปัญหาแต่ว่าไมโครซอฟท์น่าจะสามารถแก้ไขปัญหานั้นได้บ้างไหม?
บาลเมอร์: คอนเท็นต์, ความบันเทิง, และการสื่อสารจำนวนมากยิ่งวันยิ่งเข้าไปอยู่ในโลกอินเทอร์เน็ต และในอีก 10 ปีข้างหน้า ผมเชื่อว่าโฆษณาทั้งหมดจะกลายเป็นดิจิตอล เรากำลังมองหาหนทางปรับปรุงโฆษณาออนไลน์ทั้งหมดเพื่อคุณภาพของผู้บริโภคและประสิทธิภาพผู้โฆษณาซึ่งผู้คนจะไม่คาดคิดเลยว่าเราสามารถทำบางสิ่งให้เป็นออนไลน์ได้ เช่น โทรทัศน์พร้อม IP
Ad Age: เป้าหมายในธุรกิจเสิร์ชของคุณคืออะไร? และคุณคิดว่าคุณสามารถบรรลุเป้าหมายนั้นได้ด้วยสินทรัพย์ที่คุณมีอยู่ในทุกวันนี้หรือไม่?
บาลเมอร์: ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าเรายังมีงานต้องทำอีกมากตรงส่วนแบ่งในธุรกิจเสิร์ช แต่ตัวเลขของเรากำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และในปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา เราได้เปิดตัวนวัตกรรมใหม่ที่สร้างความเชื่อมโยงสัมพันธ์ในการเสิร์ชมากขึ้น ทั้งยังให้นวัตกรรมที่โดดเด่นบนหน้าจอของผู้ใช้ คุณจะได้พบกับการปรับปรุงครั้งใหญ่ในคุณภาพของประสบการณ์ที่เรานำเสนอ
โดยเฉพาะจากพื้นที่การเสิร์ชที่สำคัญ เช่น ความบันเทิง, สุขภาพ, การเสิร์ชภายในท้องถิ่น และการช้อปสินค้า เราให้ความสนใจและจริงจังในธุรกิจโฆษณาและการเสิร์ชเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ เราได้ทีมนักวิจัยและวิศวกรที่ผีมือดีที่สุดและปราดเปรื่องมากที่สุดในองค์กรจำนวนหนึ่งมาร่วมทำงานในพื้นที่เหล่านี้
Ad Age: คุณคิดว่าคุณจำเป็นต้องเข้าซื้อธุรกิจอื่นๆ ที่มีขนาดพอๆ กับ aQuantive หรือใหญ่กว่าอีกไหมเพื่อทำให้คุณได้อยู่ในที่ที่คุณต้องการบนพื้นที่ด้านการตลาดและโฆษณา
บาลเมอร์: เราจะเข้าซื้อกิจการอื่นๆอีกก็ต่อเมื่อกิจการเหล่านั้นจะช่วยผลักดันธุรกิจของเราให้เติบโตได้เร็วขึ้น กลยุทธ์ของเราคือ การสร้างธุรกิจของเราต่อไปพร้อมให้คุณค่าชั้นเยี่ยมแก่ลูกค้าในพื้นที่ด้านการสื่อสารและสื่อสังคม รวมถึงในแพลทฟอร์มต่างๆ เช่น เสิร์ช, เว็บท่า, โฆษณา และการจัดการข้อมูล ถ้าเราพบว่าโอกาสอันเหมาะสมที่จะช่วยเร่งความเร็วให้กับกระบวนการของเราในพื้นที่เหล่านี้มาจากการซื้อบริษัทอื่นๆ ดังเช่นที่เราทำกับ aQuantive เราจะยิ่งเต็มใจขอซื้อกิจการเหล่านั้นมากยิ่งขึ้น